วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แรม RAM

หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล/คำสั่งต่างๆที่ใช้ประมวลผล เราสามารถจำแนกออกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา สามารถแบ่งออกตามสภาพการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ

• หน่วยความจำถาวร หรือ ROM (Read -only Memory)
ในยุคแรกๆจะเป็นพวกที่เก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้ตายตัวแก้ไขไม่ได้ และข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะคงอยู่แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงวงจร แต่ปัจจุบัน ถูกพัฒนาให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่อยู่ภายใน บันทึกข้อมูลลงไปใหม่ได้ไม่ยาก

• หน่วยความจำชั่วคราว หรือ RAM (Random Access Memory)
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่ซีพียูใช้ทำงาน แต่หากปิดเครื่อง หรือไฟฟ้าเกิดดับขึ้นมา ข้อมูลต่างๆก็จะถูกลบทิ้งหรือสูญหายไปหมด

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
คือ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สำหรับจัดเก็บ หรือสำรองข้อมูลเก็บไว้ได้ โดยไม่จำเป้นต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่น CD/DVD เป็นต้น

ประเภทของแรม (RAM)
โดยทั่วไปสารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

• Static RAM (SRAM) มีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามรถทำให้มีขนาดความจุได้ เนื่องจากมีราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง

• Dynamic RAM (DRAM) สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟคอยเลี้ยงวงจรอยู่ มีราคาที่ถูก กิไฟน้อย และไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง

ชนิดของแรมหรือ DRAM
DARM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆ ทำงานแบบเดียวกันคือ เป็นแบบ Synchronous มีการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้

SDRAM (Synchronous)
มีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3โวลต์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz, 100 MHz และ133MHz

DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)
มีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา ใช้แรงดันไฟ 2.โวลต์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผงความเร็วบัสมีให้เลือกตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350MHz (DDR-700)แต่ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้ว

DDR2 SDRAM
เป็นหน่วยความจำที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขา 240ขา ใช้แรงดันไฟเพียง 1.8โวลต์ รองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 4GB ความเร็วบัสตั้งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 533 MHz (DDR2-1066)

DDR3 SDRAM
มีจำนวนขา 240 ขา รองรับความจุสูงสุดได้มากถึง16 GB นอกจากจะใช้แรงดันไฟลดลงเหลือเพียง 1.5 โวลต์แล้ว ยังทำงานด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้นกว่าเดิมคือ เริ่มต้นที่ 400 MHz หรือคิดเป็นความเร็วบัสที่ 800 MHz effective ในรุ่น DDR3-800 หรือ PC3-6400 จนถึง 800 MHz หรือคิดเป็นความเร็วที่ 1600 MHz effective ในรุ่น DDR3-1600 หรือ PC3-12800 และมีการปรับปรุงโครงสร้างภายในโดยขยายช่องสัญญาณการรับส่งข้อมูลเป็น 8 bits ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ความถี่สัญญาณนาฬิกาเพิ่มสูงขึ้นได้

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของซีพียู Intel

ซีพียู อินเทล (Intel)
อินเทล (Intel Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสูยุค Celeron II, Pentium4 และ Pentium4Extreme Edition ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง จนถึงยุคของ Celeron D และ Pentium4ภายใต้รหัส Processor Number ใหม่ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของซีพียูในแบบ Dual& Multi-Core บนเครื่องซีพียูที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน รายชื่อของซีพียูสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบPCหรือDesktop แต่ละรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล มีดังนี้
ซีพียูรุ่นเก่า
- ตระกูล 80X86เป็นซีพียูรุ่นแรกๆ ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
- Pentium เป็นซีพียูรุ่นแรกที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม
- Pentium MMX เป็นซีพียูรุ่นแรกที่ได้มีการนำเอาชุดคำสั่งMMX มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านมัลติมีเดีย
- Pentium Pro เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างมากในสมัยนั้น
- Pentium II เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่งMMXเข้าไปและเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบตลับ ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียู ซึ่งได้รับความนิยมมาก
- Celeron เป็นการนำเอา Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยในยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกเพื่อให้มีราคาที่ถูกลง
- Pentium III เป็นซีพียูที่เคยได้รับความนิยมสูงสุดในยุคก่อน รุ่นแรกใช้ชื่อรหัสว่า Katmai และรุ่นสุดท้ายใช้ชื่อรหัสว่า Tualatin
- Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 128KB และ 256KB ตามลำดับ ยังใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าCenleron หรือ Celeron II เช่นเดิม
ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core
Celeron รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ในราคาไม่แพง มีรุ่นต่างๆที่ออกมามีดังนี้
- Celeron (D Prescott-90nm)
ความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 3.33GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP(ค่าพลังงานความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากตัวซีพียู)
- Celeron D (Cedar Mill-65nm)
ความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่3.6 GHzในรุ่น365FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 65W
- Celeron D( Conroe-L/65 nm)
ความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 GHz ในรุ่น 450 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 8000 MHz ค่า TDP สูงสุด36 W
- Celeron Dual-Core (Allendale-65nm)
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2.0 GHz ในรุ่น E1400 มี L2 Cache ขนาด 512KB ทำงานด้วย FSB 800 MHZ ค่า TDPสูงสุด 65 W
- Celeron Dual-Core (Merom 2M-65nm)สำหรับ Notebook
ความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 1.86 GHz ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDB สูงสุด 35 W
ซีพียู Pentium 4
ซีพียูในตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผงเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆไปพร้อมๆกันได้เสมือนมีซีพียู2ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆดังนี้
- Pentium 4 HT (northwood-130nm)
ทำงานบน Socket 478 ค่า TDP สูงสุด 89 W มีL2 Cache ขนาด 512 KB
- Pentium 4 HT( Prescott-90nm) แบ่งออกเป็น2กลุ่มคือ
- กลุ่ม 5xx มีความเร็วสูงสุดในตอนนี้อยู่ที่ 3.8 GHz ขนาด 1 MB
- กลุ่ม 6xx มีความเร็วสูงสุดในตอนนี้อยู่ที่ 3.8 GHz ในรุ่น672 ใช้ FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 115W
- Pentium 4 HT( Cedar Mill-65nm)
มีความเร็วสูงสุด 3.6 GHz ในรุ่น661 ใช้ FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด2MB ค่า TDPสูงสุด86W
ซีพียู Pentium 4 Exterme Edition
- Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130nm)
ในช่วงแรกออกมา2รุ่นคือ 3.2และ3.4 GHz ใช้ FSB 800 MHz ใช้กับ Socket 478 มี L2 cache ขนาด 512 KB ค่า TDP สูงสุด 92 และ 103 W
- Pentium 4 Eztreme Edition (Prescott 2M-90nm)
มีออกมาเพียงรุ่นเดียวคือ 3.73 GHz ใช้ FSB 1066 MHz ทำงานบย LGA775 ค่า TDP สูงสุด 115W
ซีพียู Pentium D
ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ต้องใช้การ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมๆกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- Pentium D (Smithfield-90nm)
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.2 GHz ในรุ่น 840 สนับสนุน FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2x1 MB ทำงานบน LGA775 ค่า TDPสูงสุด 130W
- Pentium D (Presler-65nm)
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.6 GHz ในรุ่น 960 สนับสนุน FSB 800MHz มี L2 Cache ขนาด 2x2 MB ทำงานบน LGA775 ค่า TDPสูงสุด 130W
ซีพียู Pentium Dual-core
- Pentium Dual-core (Allendale-65nm)
มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ใช้ FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ทำงานบน LGA775 ค่า TDP สูงสุด 65W
- Pentium Dual-core (Wolfdale 2M-45nm)
ในรุ่น E5200ความเร็ว2.5 GHz ทำงานบน LGA 775 ค่า TDP สูงสุด 65W
- Pentium Dual-core (Yonah-65nm)สำหรับNotebook
ความเร็วสูงสุด 1.86GHz ในรุ่น T2130 ใช้ FSB 533 MHz มีขนาด1 MBสูงสุด31W
- Pentium Dual-core (Merom2M-65nm) สำหรับ Notebook
ความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T2410 สูงสุด 35W
ซีพียู Pentium Extreme Edition
ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับสมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสื่อบันเทิงต่างๆ สามารถประมวลผลได้ครั้งละ 4 Threads
- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90nm)
ความเร็ว 3.2 GHz ค่าสูงสุด 130Wแต่ไม่สนับสนุน Virtualization
- Pentium Extreme Edition(Presler-65nm)
ความเร็ว 3.46 GHz กับ965ความเร็ว3.73GHzค่าสูงสุด130W
ซีพียู Core 2 Duo
- Core 2 Duo (Allendale-65nm)
ความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ขนาดMB ค่าTDP สูงสุด 65 W
- Core 2 Duo (Conroe-65nm)
ความเร็ซสูงสุด 3.0GHz ขนาด 4 MB ค่าTDP สูงสุด 65W
- Core 2 Duo(Wolfdale3M-45nm)
ปรับลดขนาด3MB ความเร็วสูงสุด 3.8GHz ค่า TDP สูงสุด 65W
- Core 2 Duo (Wolfdale-45nm)
มีขนาด 6MB ความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ค่า TDP สูงสุด 65W
ซีพียู Core 2 Extreme (Doal-core)
- Core 2 Extreme (Conroe xe-65nm)
ความเร็ว 2.93GHz ขนาด 4MB ค่า TDP สูงสุด 75 W
ซีพียู Core 2 Quad
- Core 2 Quad (Kentsfield-65nm)
ความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
- Core 2 Quad (Yorkfield 4m-45nm)
ความเร็วสูงสุด 3.33GHz ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
- Core 2 Quad (Yorkfield 6m-45nm)
ความเร็ว2.5 GHz และ 2.66 GHzขนาด 6MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
- Core 2 Quad(yorkfiled-45nm)
ความเร็วสูงสุด 3.2GHzขนาด 12 MBค่าTDPสูงสุด 95 W
ซีพียู Core 2 Extreame(Quad-Core)
- Core 2 Extreame (Kentsfield XE-65nm)
ความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ขนาด 2x 4MB ค่าTDPสูงสุด 130 W
- Core 2 Extreame (Yorkfield XE-45nm)
ความเร็วสูงสุด 3.2GHzขนาด 2x6MB ค่าTDPสูงสุด 150 W
ซีพียู Core i7
ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น เป็นซีพียูแบบ 4Core รวม2 ชิปซีพียูโดยย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้อยู่ในตัวซีพียูแต่สนับสนุนเฉพาะDDR3เท่านั้นและเพิ่ม L3เข้าไปโดยมีการนำเอาเทคโนโลยีซึ่งช่วยประมวลผลเธรดจาก4แกนประมวลผลมีการใช้หน่วยความจำDDR3และเพิ่มเทคโนโลยีได้มากกกว่าเดิมอีกหลายเท่าเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบัสด้วย OPIซึ่งเป็นระบบบัสความเร็วสูงมีอัตราความเร็วอยุ่ 3 ระดับ คือ 4.8 5.86 และ 6.4 GT/โดยมีการเพิ่มชุดคำสั่งมัลติมีเดีย SSE4.2 เข้าไปอีก 7ชุดคำสั่งรวมเป็น 54 ชุดคำสั่ง
- Core i7 (Bloomfiled-45nm)
ความเร็วสูงสุด 2.4 GHz ขนาด8 MB ค่าTDP สูงสุด 130 W
ซีพียู Core i7 Etreme
- core i7 Extreme (Bloomfiled-45nm)
ความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Hi

Piyanoot Kanjanapanich