วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

BOOT


Boot เป็นการนำระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำ เกิดขึ้นอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง หรือปิดแล้วเปิดใหม่ ชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในรอบจะทำงานเริ่มด้วยการทำ Power-On Self Tests (POST) เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ตามด้วยการหาระบบปฏิบัติการเพื่อนำเข้าสู่หน่วยความจำ แล้วก็ส่งการควบคุมคอมพิวเตอร์ต่อไปให้แก่ระบบปฏิบัติการ

Boot หรือการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) เมื่อมีการโหลดระบบปฏิบัติการ (บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะเห็นการเริ่ม Windows หรือ Mac บนจอภาพ) แสดงว่าพร้อมให้ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมประยุกต์
บางครั้งจะพบคำสั่ง "reboot" ในระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีความหมายว่ามีการโหลดระบบปฏิบัติการใหม่ (การใช้คำสั่งนี้ที่คุ้นเคยกัน ให้กดปุ่ม (Alt, Ctrl และ Delete พร้อมกัน)

การบู๊ตหรือโหลดระบบปฏิบัติการมีความแตกต่างกันมากกว่าการติดตั้ง ซึ่งการกระทำเพียงครั้งเดียว เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ จะมีขึ้นตอนในการเลือกวิธีการคอนฟิก เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์พร้อมที่จะบู๊ต (โหลด) เข้าสู่หน่วยความจำชั่วคราว ซึ่งเป็นที่เก็บที่ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ และทำงานเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ โดยปกติ ภายหลักการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้วเปิดเครื่องใหม่ ระบบปฏิบัติการจะบู๊ตอย่างอัตโนมัติ ถ้าการใช้งานมีปัญหาหน่วยความจำไม่พอ หรือระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมประยุกต์มีความผิดพลาด จะมีข้อความแสดงความผิดพลาดหรือจอภาพอยู่นิ่ง ในกรณีเหล่านี้จำเป็นต้อง "reboot " ระบบปฏิบัติการ



Boot record

Boot record โปรแกรมสั้นๆซึ่งสามารถเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องถูกอ่านก่อนเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อเปิดสวิตซ์หรือบู๊ตเครื่อง โปรแกรมนี้จะสั่งให้ไปอ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมและเข้ามาในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อหนึ่ง


Bootstrap loader

Bootstrap loader เป็นโปรแกรมสั้นๆที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบรอม ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมควบคุมจากแผ่นจานแม่เหล็กมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะใช้งานได้ทันทีในขณะที่เปิดสวิตซ์



ที่มา : http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=boot

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเลือกซื้ออุปกรณ์

หลักการเลือกซื้อ เมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์





ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก




ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้



•ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร



•ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่





•จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X





•ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต





•การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสของเครื่อง





•ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก





•การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น





• อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port





• สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วย เช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย





•Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วย รายละเอียดต่าง ๆ





•เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย







การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์





Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้

เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น

ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูงไว้ก็ดี








การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์




ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกฮาร์ดดิสก์ดังนี้





•ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี





•ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66/100 ก็เลือกแบบ UDMA-66/100 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ความสามารถแบบ UDMA-66/100 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66/100 ด้วย





•ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี





•ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ 2 แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็





•ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม





•เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี







การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์





•ขนาดของ RAM ต่อ 1 ชิ้น บนเมนบอร์ดจะมีข้อจำกัดของช่องใส่ RAM เช่นใส่ได้ 3 หรือ 4 ช่อง หากเลือก RAM ที่มีขนาดน้อย ๆ ต่อชิ้น เช่นเลือก RAM แถวละ 32M. คุณก็ต้องซื้อ 2 แถวเพื่อให้ได้ 64M. ในอนาคตอยากจะเพิ่มอีก ก็จะเริ่มเป็นปัญหาว่าไม่มีช่องใส่ RAM พอได้





•การใช้ RAM ที่มีขนาด และความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะเป็นปัญหาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นการไม่เสถียร หรือแฮงค์บ่อย ๆ ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นการซื้อ RAM ใหม่ให้เลือกขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องการเลย เช่น 64M. หรือ 128M. ต่อ 1 แถวและใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้





•ความเร็วของบัสแรม ก็ต้องเลือกให้เข้ากับ CPU และ เมนบอร์ดด้วย (ความเร็วส่วนใหญ่จะเป็น 66, 100 และ 133 MHz) เช่น Celeron ใช้ความถี่ FSB 66 MHz อาจจะใช้งานกับ RAM แบบ PC-66 ก็ได้ แต่หากคุณใช้ CPU Pentium II หรือ Pentium III ซึ่งใช้ความเร็ว FSB 100MHz ก็ต้องใช้ RAM แบบ PC-100 ด้วยหรือ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้ความเร็วบัส FSB 133 MHz ก็ต้องใช้แรมแบบ PC-133





•ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูลของ RAM อันนี้คงจะดูกันยากหน่อย แต่โดยทั่วไปก็จะมีตัวเลขที่บอกความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล เช่น 10 nsec, 8nsec หรือ 6 nsec เป็นต้น ตัวเลขยิ่งน้อย ก็ทำให้การเข้าถึงได้เร็วกว่า





•สำหรับผู้ที่ต้องการ Over Clock ก็คงต้องเลือกยี่ห้อของ RAM กันหน่อย เคยได้ยินมาว่า RAM แบบ PC-133 บางยี่ห้อสามารถทำงานที่ความเร็วสูงถึง 180 MHz ได้ด้วย







การเลือกซื้อ VGA Card สำหรับคอมพิวเตอร์





สำหรับ VGA Card ปัจจุบันนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือการ์ดแสดงผลแบบ 2D และแบบ 3D ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบ 3D กันหมดแล้ว เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันทางด้านความเร็ว จำนวนของ RAM บนการ์ดและคุณภาพ ตามราคาเท่านั้น ในที่นี้ขอแบ่งวิธีการเลือกการ์ดแสดงผล ดังนี้





•ชนิดของ Interface การ์ดจอ คือเป็นแบบ PCI หรือเป็นแบบ AGP ต้องเลือกให้ตรงกับเมนบอร์ดด้วยนะครับ (สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะมีแค่เพียงสล็อตแบบ PCI เท่านั้น หากเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีสล็อต AGP มาให้ด้วย)






•การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา เช่นการพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือกการ์ดแสดงผลที่มี RAM ประมาณซัก 8M. ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะราคาจะค่อนข้างถูกกว่ามาก





•หากเน้นที่การเล่นเกมส์ ก็ต้องเลือกการ์ดแสดงผลแบบที่เป็น 3D โดยเฉพาะ และควรจะมีจำนวนของ RAM บนการ์ดค่อนข้างมากหน่อย เช่น 16M. หรือ 32M. หากเลือกการ์ดที่มี RAM มาก ๆ จะทำให้เล่นเกมส์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นครับโดยที่ราคาก็จะแพงมากขึ้นตามไปด้วย





•เลือกชนิดของ Chip Set ของการ์ดจอด้วย เนื่องจากการ์ดจอแต่ละแบบ จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว ที่นิยมเลือกใช้งานกันก็จะมี Voodoo, TNT, Savage, SiS และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้จาก เวปบอร์ดต่าง ๆ ประกอบด้วย






•ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูล เช่นเป็น AGP 1X, 2X หรือ





•ความสามารถในการ Over Clock ซึ่งรวมทั้งการ Over Clock CPU และการ Over Clock การ์ดจอด้วย สำหรับผู้ที่คิดจะทำ Over Clock โดยเฉพาะ



•Option Video in, Video Out ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งถ้าหากมี Option พวกนี้มาด้วย ราคาก็จะสูงขึ้นอีก





การเลือกซื้อ Sound Card สำหรับคอมพิวเตอร์



สำหรับการเลือกซื้อ Sound Card หรือการ์ดเสียง สรุปง่าย ๆ คือเลือกกันตามราคาไปเลย จะมีตั้งแต่แบบถูก ๆ ราคาไม่กี่ร้อยไปจนถึงราคาเป็นหลักพัน คุณภาพของเสียงที่ได้ก็จะเป็นตามราคาด้วยเช่นกัน หากใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา ใช้การ์ดเสียงรุ่นเก่า ๆ ก็พอใช้งานฟังเพลงได้ ในส่วนนี้ขอแนะนำให้ เอางบประมาณที่ตั้งไว้ เผื่อไปที่ตัวลำโพงดีกว่า เลือกลำโพงแบบที่มี ซับวูฟเฟอร์ ด้วยจะช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงได้มาก ในส่วนของการเลือก Sound Card ลองพิจารณาดูเรื่องของการเพิ่มเติมหน่วยความจำในอนาคต หรือการใส่ wave table ได้ด้วยซึ่งหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะสามารถทำได้อยู่แล้ว

การเลือกซื้อ Modem สำหรับคอมพิวเตอร์


ในส่วนของ Modem ที่เห็นรูปร่างจากภายนอก สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือแบบ Internal Modem และ External Modem ซึ่งขอแยกข้อดีและข้อเสียของ Modem ชนิดต่าง ๆ ดังนี้


•Internal Modem

ข้อดีคือ

ราคาถูกกว่า ไม่เกะกะสายตา เพราะจะเป็นการ์ดเสียบติดไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเลย ไม่ต้องต่อสายหรือต่อ Power Supply ให้ยุ่งยาก และไม่เปลือง COM Port ที่มีอยู่จำกัด

ข้อเสีย

การเคลื่อนย้าย หรือถอดออกไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ จะทำได้ค่อนข้างยาก และมักจะมัปัญหาหลาย ๆ อย่างตามมาด้วยเช่น สายอาจจะมีโอกาสหลุดได้บ่อย (ปัญหาหลักที่พบกันมาก) ต้องการ CPU ที่มีความเร็วค่อนข้างสูง จึงจะใช้งานได้แบบไม่มีปัญหา


•External Modem จะมีราคาแพงกว่าแบบ Internal Modem และจะต้องมีสายต่อต่าง ๆ อยู่ภายนอกเครื่องให้เกะกะสายตาดี

ข้อดี

พบปัญหาของสายหลุดได้น้อยมาก และสามารถใช้งานกับ CPU ที่มีความเร็วไม่สูงมากนักได้สบาย ๆ การเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่าย

การเลือกซื้อ จอภาพ สำหรับคอมพิวเตอร์

สำหรับ จอภาพ ของคอมพิวเตอร์ ก็คงเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งครับที่ไม่มีให้เลือกมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเลือกกันที่ขนาดของจอ เช่น 14, 15 หรือ 17 นิ้ว เป็นจอแบบธรรมดา หรือ Flat Screen ราคาก็จะถูกแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอนั้น ๆ ขอแนะนำให้พิจารณาดูด้วยก็คือ การตั้งค่าความละเอียดของการแสดงผลสูงสุดได้เท่าไร และการตั้งค่า Refresh Rate ตั้งได้สูงสุดเท่าไร และจอภาพคือส่วนที่เราต้องมองอยู่เกือบตลอดเวลาที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์

การเลือกซื้อ Printer

ในส่วนของ Printer ก็คงต้องเลือกกันตามความจำเป็นใช้งาน ซึ่งอาจจะแบ่ง Printer ออกได้เป็น 3 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
แบบใช้ผ้าหมึก จะเป็น Printer แบบเก่า ๆ ภาพที่ได้จะไม่ค่อยสวย จะเหมาะกับการใช้งานพิมพ์เอกสารบนกระดาษต่อเนื่องต่าง ๆ โดยที่ราคาต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะถูกมาก


แบบ Laser จะเน้นที่การพิมพ์ ขาว-ดำ จะได้งานที่สวยงามขึ้นมา แต่ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นก็จะสูงขึ้นมาอีกหน่อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอาสารทั่ว ๆ ไป


แบบ Ink Jet ส่วนใหญ่จะสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย ปัจจุบันมีการพัฒนากันถึงขั้นพิมพ์ภาพออกมาได้ใกล้เคียงกับภาพถ่ายจริงแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะค่อนข้างแพงมาก รวมถึงกระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ อาจจะต้องใช้กระดาษแบบพิเศษเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามขึ้นด้วย

โดยส่วนใหญ่ก็จะดูกันที่ชนิดของการต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นต่อกับ Parallel Port หรือ USB Port ความเร็วของการพิมพ์ในแต่ละหน้า มีความละเอียดของการพิมพ์เช่น 720 dpi (720 จุดต่อนิ้ว) ยิ่งมีความละเอียดสูง ก็จะทำให้พิมพ์ภาพได้คมชัดขึ้นครับ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วย เช่น Printer ของ Epson ที่เป็นแบบ Ink Jet รุ่นต่าง ๆ จะต้องมีการใช้งานอยู่สม่ำเสมอ หากไม่มีการใช้งานนาน ๆ อาจจะเกิดการอุดตันของหัวพิมพ์ก็ได้ ต้องหาข้อมูลเหล่านี้ดูให้ดีด้วย


การเลือกซื้อ Scanner


ในส่วนของ Scanner ก็ต้องดูเรื่องความละเอียดเป็นหลักครับว่าสามารถสแกนได้ความละเอียดสูงสุดเท่าไร ความเร็วของการสแกน ชนิดของหลอดไฟหรือหัวสแกนที่ใช้งาน ความสามารถทำสแกนฟิมล์ถ่ายภาพได้หรือไม่ รวมถึงการเชื่อมต่อโดยเป็นแบบ Parallel Port หรือ USB Port ด้วย


การเลือกซื้อ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

•Keyboard เลือกโดยทดลองกดปุ่มต่าง ๆ ดูว่าเหมาะมือของเราหรือไม่ ปุ่มสำหรับ Key พิเศษต่าง ๆ


•Mouse เลือกโดยทดลองใช้งานให้เหมาะมือ ปุ่มก็ไม่ควรจะแข็งมากจนเกินไปนัก


•Joy Stick เลือกตามราคา หรือทดลองใช้งานจริง ดูจำนวนปุ่มและ Function ต่าง ๆ ว่ามากน้อยเพียงใด







การเลือกซื้อเคส



วัสุด - การระบายความร้อนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าระบายความร้อนไม่ดี ย่อมทำให้ชิ้นส่วนต่างๆคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง
ขนาด - ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของพื้นที่ และความสวยงามด้วย ถ้าเป็นตัวเคสแบบ Tower ย่อมทำให้การระบายความร้อนดีขึ้นด้วย (มีพื้นที่ว่างมากขึ้น) และสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย

จำนวนช่องในการเชื่อมต่อ - เคสบางเคสจะมีช่องในการเชื่อมต่อมากให้มากว่าหนึ่งช่อง โดยเฉพาะ CD-ROM และเลือกให้ดีกว่ากับการเชื่อมต่อ Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USB Port หรือ ช่องเสียง Microphone เป็นต้น

การเข้ากันกับ Mainboard - จุดสำคัญสำหรับการเลือกซื้อเคส ถ้าเลือกขนาดที่เล็กมาก คงต้องสำรวจรุ่นของ Mainboard ที่คุณจะเลือกซื้อด้วย

สเป็คคอมพิวเตอร์

Intel Pentium III 600 MHz


>>ซีพียู Intel รุ่น Pentium III ความเร็ว 600 MHz


Chipset Intel Mainboard


>>ใช้ Mainboard ที่ทำงานด้วยชิบเซ็ต จาก Intel


64 MB SDRAM (100 MHz) Memory


>>หน่วยความจำขนาด 64 MB ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz


64 MB SDRAM (100 MHz) Memory


>>ฮาร์ดดิสก์ขนาด 15 GB ชนิดที่มี ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Ultra DMA 66 เมกะไบต์ต่อวินาที


1.44MB Floppy Disk Drive


>>ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วใช้งานกับแผ่นดิสก์เก็ต 1.44MB


Medium Tower 250w ATX Case


>>เคสขนาดกลาง 250 w ใช้กับบอร์ด ATX


120 Watts Stereo Speaker


>>ลำโพงสเตอริโอขนาด 120 วัตต์


50X CD-ROM Drive


>>เครื่องอ่านซีดีรอมความเร็ว 50 เท่า


108 Key Keyboard


>>คีย์บอร์ด 108 Key


PS/2 Mouse and Mouse pad


>>เมาส์ขั้วต่อ PS/2 และแผ่นรองเมาส์


15"Digital Control Samsung Monitor


>>จอภาพขนาด 15 นิ้วระบบดิจิตอล ยี่ห้อ Samsung

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบบัส

บทบาทของระบบบัส


บัสเป็นเส้นทางหลักของคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงการ์ดขยายทุกชนิด ไปยังไมโครโพรเซสเซอร์ บัสความจริงก็คือ ชุดของเส้นลวดที่วางขนานกันเป็นเส้นทางวงจรไฟฟ้าเปรียบเทียบเหมือนถนนที่มีหลายช่องทางจราจร ยิ่งมีช่องทางจราจรมาก ก็ยิ่งระบายรถได้มากและหมดเร็ว เมื่อเราเสียบการ์ดลงช่องเสียบบนแผงวงจรหลัก (สล๊อต) ก็เท่ากับว่าได้เชื่อมต่อการ์ดนั้นเข้ากับวงจรบัสโดยตรง จุดประสงค์หลักของบัสก็คือ การส่งผ่านข้อมูลไปและกลับ จากไมโครโพรเซสเซอร์หรือจากอุปกรณ์หนึ่ง โดยทางคอนโทรลเลอร์ DMA การ์ดทุกตัวที่เสียบอยู่บนสล็อตของแผงวงจรหลักจะใช้เส้นทางเดินของบัสอันเดียวกัน ดังนั้นข้อมูลต่างๆจึงถูกจัดระบบและควบคุมการส่งผ่านในระบบ

จะพบว่าบัสแบ่งได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆดังนี้


1.สายไฟฟ้า (POWER LINE) จะให้พลังไฟฟ้ากับการ์ดขยายต่างๆ

2. สายควบคุม (CONTROL LINE) ใช้สำหรับส่งผ่านสัญญาณเวลา (TIMING SIGNS) จาก นาฬิกาขอระบบ และส่งสัญญาณอินเตอร์รัพต์

3. สายแอดเดรส (ADDRESS LINE) ข้อมูลใดๆที่จะถูกส่งผ่านไป แอดเดรสเป้าหมายจะถูกส่งมาตามสายข้อมูลและบอกให้ตำแหน่งรับข้อมูล (แอดเดรส) รู้ว่าจะมีข้อมูลบางอย่างพร้อมที่จะส่งมาให้

4. สายข้อมูล (DATA LINE) ไมโครเมตรจะตรวจสอบว่ามีสัญญาณแสดงความพร้อมหรือยัง (บนสาย I/O CHANNEL READY) เมื่อทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ข้อมูลก็จะถูกส่งผ่านไปตามสายข้อมูล จำนวนสายที่ระบุถึงแอดเดรสของบัส หมายถึง จำนวนของหน่วยความจำที่อ้างแอดเดรสได้ทั้งหมด เช่น สายแอดเดรส 20 สาย สามารถใช้หน่วยความจำได้ 1 เมกะไบต์ จำนวนของสายบัสจะหมายถึงบัสข้อมูล ซึ่งก็คือข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านไปในบัสตามกฎที่ตั้งไว้ ความเร็วในการทำงานที่เหมาะสมจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ จำนวนสายข้อมูลเพียงพอกับจำนวนสายส่งข้อมูลของไมโครโพรเซสเซอร์ จำนวนสายส่งข้อมูลมักจะระบุถึงคุณสมบัติของบัสในเครื่องพีซีนั้นๆ เช่น บัส 16 บิต หมายถึง บัสที่ใช้สายข้อมูล 16 สายนั่นเอง


ประเภทของบัส


โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ


1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์

2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus


การทำงานของบัส


เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้นอีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น " ถนนสายหลัก " ที่ใช้สำหรับ " เดินทาง " หรือ " ขนส่งข้อมูล " และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง " บ้าน " ที่อยู่ใน " ถนนย่อย " ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ " ถนนย่อย " ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี " เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน " เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ " แยกสัญญาน " หรือ " พ่วงสัญญาน " ที่เรียกว่า MAC ( Media Access Connector ) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญานให้


บัสหมายถึง


BUS หมายถึง ช่องทางการขนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เพราะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ CPU จะต้องอ่านเอาคำสั่งหรือโปรแกรมจากหน่วยความจำ มาตีความและทำตามคำสั่งนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งจะต้องอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบในการทำงาน หรือใช้ในการประมวลผลด้วยผลลัพธ์ของการประมวลผล ก็ต้องส่งไปแสดงผลที่ยังจอภาพ หรือเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ

ระบบ BUS ทางกายภาพ คือสายทองแดงที่วางตัวอยู่บนแผงวงจรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ ความกว้างของระบบบัส จะนับขนาดข้อมูลที่วิ่งอยู่โดยจะมีหน่วยเป็น บิต (BIT) บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ บัสจะมีความกว้างหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพีซี เช่น บัสขนาด 8 บิต 16 บิต และ 32 บิต โดยปัจจุบันจะกว้าง 16 บิต บัสยิ่งกว้างจะทำให้การส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้ครั้งละมากๆ จะมีผลทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้เร็วตามไปด้วย ทั้ง ISA, PCI, AGP, VLPCI ล้วนแต่เป็น CARD เพิ่มขยาย (EXPANSION CARD) ซึ่งนำมาต่อกับระบบบัสเพิ่มขยาย (EXPANSION BUS) ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์ระบบบัสเพิ่มขยายนั้น จะช่วยให้เราสามารถปรับแต่ง หรือเพิ่มขยายความสามารถของระบบ โดยผ่านทาง PLUG-IN BOARD หรือเรียกว่า เป็น CARD เพิ่มขยาย EXPANSION CARD เช่นเมื่อต้องการให้เครื่อง COMPUTER มีเสียง อยากให้คอมพิวเตอร์เล่นเพลงได้ก็ต้องหาซื้อ SOUNDCARD และลำโพงมาต่อเพิ่ม โดยแค่นำมา PLUG ลงใน EXPANSION SLIT บน MAINBOARD และทำการ CONFIG ก็สามารถใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟ รื้อ MAINBOARD ให้ยุ่งยาก

ระบบบัสเพิ่มขยายนี้มีใช้มานานแล้ว โดยสมัยแรกๆที่ทำการลดขนาดเมนเฟรม เป็นMINICOMPUTER บริษัท DIGITAL EQUIPMENT CORPORATION หรือที่รู้จักกันในนาม DEC

ได้วางตลาดMINICOMPUTER ลักษณะ BUS-ORIENTED DESIGN ซึ่งประกอบไปด้วย

แผงวงจรย่อยๆบน BOARD นำมาประกอบรวมกัน ต่อมา เครื่องจักรที่ได้รับยกย่องว่าเป็น PC (PERSONAL COMPUTER) เครื่องแรกก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นผลงานของ ED ROBERTS

โดยให้ชื่อว่า ALTAIR (อัลแตร์) ซึ่งลักษณะของเครื่องนี้ จะเป็นลักษณะ SINGLE BOARD MACHINE กล่าวคือมีเพียง BOARD เปล่าๆ ซึ่งมี SLOT เพิ่มขยายให้จำนวนหนึ่ง และตัว CPU เองรวมทั้งหน่วยความจำหลัก (MAIN MEMORY/RAM) ก็อยู่บน BOARD เพิ่มขยายที่นำมา PLUG บน SLOT นั้นๆนั่นเอง โดยระบบบัสที่ใช้เรียกว่า S-100 หรือ ALTAIR BUS (IEEE 696) ซึ่งก็ใช้เป็นมาตรฐานในวงการนี้มานานหลายปี แต่ก็ใช่ว่าเครื่องทุกๆเครื่องจะต้องใช้ ALTAIR BUS นี้ เพราะทาง APPLE เองก็ออกมาตรฐานของตัวเองขึ้นมา เรียกว่า APPLE BUS และทาง IBM เอง ก็ได้กำหนดมาตรฐาน PC BUS ขึ้นมาพร้อมๆกับการ IBM PC ต้นแบบ


ส่วนประกอบของระบบบัส


ระบบบัสนั้นประกอบด้วย


- เส้นทาง หมายถึง เส้นทางที่ข้อมูลเดินผ่าน ส่วนใหญ่จะสังเกตเป็นเส้นบนเมนบอร์ด
- ชิปควบคุม ทำ หน้าที่ บริหารการเข้าใช้บัสของชิ้นส่วนต่าง ๆ และทำ หน้าที่ป้องกันปัญหา
ขัดแย้ง เนื่องจากการแย่งใช้บัสในเวลาเดียวกัน
- สล็อตต่อขยาย อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าระบบบัสไม่ใช่แค่สื่อสารระหว่างชิ้นส่วนภายใน
เครื่องพีซีเท่านั้น ยังสื่อสารกับการ์ดเสริมต่าง ๆ อีกด้วย โดยสื่อสารกับการ์ดเหล่านั้นผ่าน
ช่องสล็อตต่อขยาย สล็อตต่อขยายจะถูกออกแบบมาให้ตรงกับระบบบัสนั้น เช่น ระบบบัส
PCI ก็จะมีสล็อต PCI ซึ่งใช้เสียบการ์ดแบบ PCI



ผลของความเร็วบัส


เนื่องจากบัสเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์
เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์กับแรม แรมกับฮาร์ดดิสก์ แรมกับการ์ดต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วของบัส
ก็มีผลกับความเร็ว โดยรวมของไมโครคอมพิวเตอร์ ยิ่งบัสมีความเร็วสูงเท่าใดและมีจำ นวนบิตมากขึ้น
เท่าใด ก็จะทำ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น (แต่ไม่ได้เป็นแบบเชิงเส้น) แต่ทั้งนี้ข้อจำ กัดของความเร็วบัส
ยังขึ้นอยู่กับสัญญาณรบกวน (Noise) เพราะยิ่งบัสใช้ความเร็ว (ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาของบัส) สูง
ขึ้นเท่าใดสัญญาณรบกวนก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากสัญญาณรบกวนมากขึ้นก็จะทำ ให้โอกาสที่
ข้อมูลที่ผ่านบัสจะผิดพลาดมากขึ้นเท่านั้น แต่อาจจะสงสัยว่าทำ ไมความเร็วหรือสัญญาณนาฬิกาของไม
โครคอมพิวเตอร์จึงสูงกว่าของบัสมาก ก็เนื่องมาจากเส้นทางบัสบนเมนบอร์ดมีระยะยาวมาก เมื่อเทียบ
กับระยะห่างระหว่างแต่ละหน่วยของไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งก็ทำ ให้เกิดสัญญาณมากกว่านั่นเอง


อุปกรณ์ที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วบัส


♦ หน่วยความจำ หลัก (RAM)
♦ External Static RAM (แคชบนเมนบอร์ด)
♦ การ์ดควบคุมการแสดงผล (VGA Card)
♦ การ์ดเพิ่มขยาย
♦ ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
♦ ชิปเซต (Chipset)

ชิปเซต


ในคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นหัวใจหลักในการประมวลผล แต่ซีพียูจะประมวลผลได้นั้น ต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก จากอุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (Input-Output)จากอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งการควบคุมการทำงาน กลวิธีในการต่อเชื่อม การรับ-ส่งข้อมูลเหล่านั้น ถูกควบคุมโดยชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ที่มีโครงสร้างคล้ายซีพียู เรียกว่า ชิปเซ็ต งานทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้กระทำจะถูกทำโดยชิปเซ็ตได้แก่ การควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่างๆ เช่น VGA Card, AGP Card, Sound Card งานเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการควบคุมของ Chipset ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าออกจากซีพียูจะต้องผ่าน Chipset ให้ Chipset เป็นผู้จัดการทั้งสิ้น


ความหมายของ Chipset Chip Set เป็นคำผสมระหว่าง Chip และ Set ดังนี้


• Chip คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัตถุรูปร่างสี่เหลี่ยม มีขาโลหะ ที่เป็นระยางออกมารอบๆ ตัว จำนวนขาโลหะที่ยื่นออกมาก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการออกแบบ และ หน้าที่ที่ถูกกำหนดในการใช้งาน


• Set หมายถึง กลุ่ม, หมวดหมู่, หรือสิ่งที่จัดมารวมกัน ดังนั้น ความหมายโดยรวมของ Chipset คือ กลุ่มของชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย สำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของซีพียูและเป็นหัวใจในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดบน Mainboard พร้อมทั้งเป็นจุดศูนย์รวมของเทคโนโลยีอันทันสมัยทั้งหลาย


หลักการทำงานของชิปเซ็ต


โดยทั่วไป ชุดChipset จะประกอบด้วย Chip มากกว่า 1 Chip และ chipset แต่ละตัวจะมี transistor มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ โดยสรุปได้ดังนี้

1. หลักการทำงานหลักของ Chipset คือควบคุมการทำงานและการเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ

2. ทำหน้าที่ควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ

3. ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่บัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ ซีพียู กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง

4. สนับสนุนการทำงานของ Processor หลายตัว (Multi Processor) โดยที่วงจรควบคุมของ Chip Set จะทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของ Processor ทั้งสอง ไม่ให้แต่ละ Processor รบกวนการทำงานของกันและกัน โดยทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยเรียกการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า SMP ( Symmetric Multiprocessing )โครงสร้างของ Chipset โดยปกติอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนประกอบของเมนบอร์ด มักจะทำงานร่วมกันในลักษณะที่เรียกว่า "สอดประสานไปด้วยกัน (Synchronous)" โดยใช้ความถี่สัญญาณนาฬิกาเป็นหลัก และบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ให้กำเนิดสัญญาณนาฬิกา

ชิปเซตจะทำหน้าที่ช่วยจัดการ ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อพ่วงกับเมนบอร์ด โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ

1. โครงสร้าง North Bridge และ South Bridge

2. โครงสร้าง Accelerated Hub Architecture



หน้าที่ของ Chipset ในส่วนของโครงสร้าง North Bridge


Chipset ที่ทำหน้าที่ในฝั่ง North Bridge คือ จะทำการควบคุมอุปกรณ์ RAM และ AGP ทำการเชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU และ VGA Card หรือ AGP Card หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำแคช (Static RAM) และ Slot สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่าน PCI Bus ทั้งหมด ซึ่งถูกควบคุมผ่านสะพานทิศเหนือ จะเห็นว่า Chipset ในฝั่ง North Bridge เป็นอุปกรณ์หลัก ที่ทำหน้าที่ควบคุมของคอมพิวเตอร์


หน้าที่ของ Chipset ในส่วนของโครงสร้าง Southern Bridge


หน้าที่อื่นๆ ที่เหลือของ Chipset เป็นงานของ Southern Bridge ได้แก่ การควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) Hard disk, CD-ROM Drive , Slot IDE, USB, ACPI Controller และ Flash BIOS รวมทั้งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ ISA Bus ด้วย หน้าที่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งของ Southern Bridge คือเป็นตัวควบคุม Power Management Controllers



การเลือกใช้ Chipset


เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าจะใช้ CPU จากค่ายใหนเราก็เลือกใช้ Main Board ที่สนับสนุน CPU นั้นโดยอาจต้องคำนึงถึง ชื่อของผู้ผลิต Main Board ด้วยเพราะถึงแม้ว่าจะใช้ Chipset เดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกันแต่ก็มีประสิทธิภาพที่ต่างกันอีกทั้งยังมีเสถียรภาพที่ต่างกันด้วย ซึ่งในเรื่องของ เสถียรภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเลือก Main Board เพราะ Main Board มีเสถียรภาพต่ำก็จำทำให้เครื่องคอมฯของเราหยุดทำงานบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะเน้นในเรื่องเสถียรภาพเป็นหลัก บางรายเน้นที่ความเร็วเป็นหลัก ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่เราจะพิจารณาซื้อ Mainboard ควรที่จะหาข้อมูลของ Mainboard ที่เราจะซื้อเพื่อมาพิจารณาก่อนว่ามีปัญหาหรือเปล่า ราคาเท่าไหร่ ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จาก นิตยสารคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือบน Internet
หลักการพิจารณาเลือกซื้อ Chipset มีจุดสำคัญดังนี้
• เป็นชิพเซ็ตสำหรับซีพียูรุ่นใด ซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมต่างกันต้องการชิพเซ็ตที่แตกต่างกัน
• รองรับความเร็งสูงสุดของบัสได้เท่าใด
• รองรับการทำงานร่วมกับหลาย ๆ ซีพียูได้หรือไม่
• รองรับการทำงานร่วมกับหน่วยความจำชนิดใด
• รองรับการขยายขนาดความจุของหน่วยความจำได้สูงสุดที่เท่าไหร่
• ความสามารถอื่น ๆ ซึ่งโดยมากมักจะไม่แตกต่างหรือมีผลต่อกันมากนัก เช่น รองรับ
• ระบบบัส PCI หรือ PCI X รุ่นใด รองรับมาตรฐาน PCI Express หรือไม่



บทสรุป


ซีพียูจะทำงานได้เต็มที่เพียงใดจะขึ้นอยู่กับการทำงานของส่วนประกอบอื่น ๆด้วย ซีพียูที่เร็วอาจถูกจำกัดให้ช้าลงด้วย Cache ที่ช้ากว่า หรือซีพียูและ RAM เร็วทั้งคู่อาจไม่สามารถติดต่อกันได้ทันหากระบบบัสมีความเร็วต่ำหรือมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งต้องพึ่งพาองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญอย่างมากบนเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่ติดตั้งมาให้แล้วอย่างถาวรอยู่บนเมนบอร์ด ไม่สามารถถอดหรือเปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือ Chipset เป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดนี้
- จะสามารถใช้กับ CPU ชนิดใดได้บ้าง
- รองรับหน่วยความจำชนิดใดบ้าง
- มี Slot ประเภทใดถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดได้
- สามารถรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทใดได้บ้าง
- เป็นตัวกลางในการทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง CPU กับ หน่วยความจำ
- ตัวควบคุมแคช(Cache Controller)
- ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (IDE Controller)
- ตัวควบคุมบัส PCI

ในส่วนของ Chipset ผู้ผลิตจะต้องทำการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อรองรับการทำงานของ CPU และอุปกรณืใหม่ๆได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตเองก็เริ่มที่จะนำแนวคิดกรีนโซลูชั่นมาใช้เป้นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงระบบความร้อน, ความเสถียรของระบบเพื่อถนอมอายุการใช้งานของส่วนประกอบและเพิ่มความสามารถในการประหยัดไฟฟ้าได้สูงสุด ในอนาคตอาจเป็นไปได้ที่หน้าที่ของ Chipset จะลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับส่วนอื่นต่อไป



วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญบนเมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม ชิปเซ็ต ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ เข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ชิปเซ็ต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ เราจึงจำเป็นที่จะต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญ โดยรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้


ช่องทางสำหรับติดตั้งซีพียู (CPU Socket)

เป็นชิ้นส่วนที่ยึดติดอยู่กับเมนบอร์ด ใช้เป็นฐานรองรับตัวซีพียู เพื่อเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าบนเมนบอร์ด ซีพียูแต่ละรุ่นจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับช็อคเก็ตที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นซีพียูของ Intel ก็คือแบบ LGA แต่ถ้าเป็นซีพียูของ AMD ที่ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ PGA ช็อคเก็ตที่ใช้ก็จะเป็นแบบ PGA

ช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำ (Memory Slot)

ลักษณะของแผงหน่วยความจำแรม แต่ละชนิดจะมีขนาดความยาว จำนวนขา และตำแหน่งของร่องบากที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบช่องเสียบแผงหน่วยความจำให้เป็นรูปแบบเฉพาะของแรมที่จะนำมาใช้
สล็อตหน่วยความจำแบบอื่นๆ ที่เคยใช้กันมามีดังต่อไปนี้

• แบบ 30 Pin ใช้กับ EDO RAM ในเครื่องตั้งแต่ก่อนยุคที่จะมีซีพียู 486
• แบบ 72 Pin ใช้กับ EDO RAM ในเครื่องตั้งแต่ยุคซีพียู 486 ไปจนถึง Pentium
• แบบ 168 Pin ใช้กับ SDRAM
• แบบ 184 Pin ใช้กับ DDR-SDRAM
• แบบ 184 Pin ที่ใช้กับ RDRAM แผงแรมชนิดนี้มักถูกเรียกว่า “RIMM หรือ RIMM Slot”
• แบบ 232 Pin ใช้กับ RDRAM (Rambus DRAM)


ชิปเซ็ต (Chipset)

เป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด องค์ประกอบหลักในการนำมาพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ด ตัวอย่างเช่น เมนบอร์ดที่เราเลือกซื้อนั้นใช้ชิปเซ็ตที่เราสนับสนุนความเร็ว FSB ได้สูงสุดถึง 1600 MHz หรือได้สูงสุดเพียงแค่ 800 MHz และสามารถใช้หน่วยความจำ DDR2 และ/หรือ DDR3 ได้หรือไม่ ที่ความเร็วเท่าใด และมีขนาดความจุสูงสุดได้เท่าไหร่ เป็นต้น


ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ (Bus & Slot)

บัส (Bus) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบัสในแต่ละส่วนจะมีความเร็วต่างกัน ตั้งแต่ ซีพียู หน่วยความจำ แคช ฮาร์ดดิสก์ สล็อต ต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัส จึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์ ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องมีความเร็วเพียงพอที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เต็มความเร็วของอุปกรณ์นั้นๆ ระบบบัสที่มีความเร็วสูงมากๆก็ยิ่งจะเพิ่มความยุ่งยากในการออกแบบ เพราะ สัญญาณดิจิตอลที่เป็น 0 กับ1 ในทางไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะอ่อนกำลังลงหรือถูกรบกวนให้ผิดเพี้ยนไปได้ง่ายที่ความถี่สูง
โครงสร้างของระบบบัสภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมากกว่าในอดีต ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น ชิปเซ็ต และระบบบัสต่างๆตามไปด้วย ทั้งนี้เราจะมาดูกันว่าระบบบัสและสล็อตต่างๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

ระบบบัส และช็อคเก็ตของซีพียู

ระบบบัสที่เกี่ยวข้องกับซีพียูโดยตรงนั้นถูกเรียกว่า Front Side Bus (FSB) เป็นระบบบัสที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูที่ถูกติดตั้งอยู่บนช็อคเก็ตกับชิปเซ็ต ตัวหลักบนเมนบอร์ด บัสนี้ทำงานด้วยความเร็วสูงสุดเท่ากับความถี่ ของสัญญาณนาฬิกาภายนอกซีพียู

ระบบบัส และสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่างๆ
ระบบบัสที่เกี่ยวข้องกับช่องสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่างๆ มีดังนี้

• PCI (Peripheral Component Interconnect) และ PCI-X (PCI Extended)


บัส PCI เป็นระบบบัสที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์อื่นๆที่มีความเร็วรองลงมา
มาตรฐานของระบบบัสแบบ PCI ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่คือ PCI 2.3 ซึ่งมีความกว้างบัสขนาด 32 บิต (4ไบต์)
และทำงานด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาคงที่คือ 33.3 MHz หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาส่วนต่อขยายของบัส PCI เดิมขึ้น โดยเพิ่มความกว้างของบัสเป็น 64 บิต และสามารถทำงานด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาตั้งแต่ 33.3 MHz ไปจนถึง 133 MHz โดยยังคงมีความเข้ากันได้
PCI –X ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้งานบนเครื่องระดับ Server และ Workstation ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี Bandwidth ที่กว้างและสามารถรองรับการขยายระบบได้มากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ดังนั้น PCI-X จึงสามารถรองรับกับเทคโนโลยีทั้งใหม่และเก่าได้


• AGP (Accelerated Graphic Port)

บัส AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อมาจากบัส PCI โดยมีความกว้างของบัสเท่าเดิมคือ 32 บิต (4 ไบต์) แต่ทำงานด้วยความถี่สูงขึ้นคือ 66.6 MHz ทำให้มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 4 ไบต์ บัส AGP นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องรับส่งข้อมูลปริมาณมากและจำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของทั้งระบบอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP ได้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น

• PCI-Express

PCI-Express เป็นระบบบัสแบบใหม่ที่กำลังเข้ามามาแทนที่ระบบบัสแบบ PCI และ AGP ด้วยคุณสมบัติที่ดีและยืดหยุ่นของระบบบัสแบบ PCI-Express ที่สามารถออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามความต้องการของแต่ละอุปกรณ์ให้อัตราความเร็วในแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
ระบบแบบ PCI-Express จะใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) ในการรับส่งข้อมูลจะใช้วิธีการแบ่งเส้นทางเดินของข้อมูลออกเป็นช่องสัญญาณ หรือ เลน ซึ่งแบนด์วิดธ์ที่ได้รับในแต่ละทิศทาง สำหรับ PCI-Express x16 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์สูงสุดมากถึง 8 GB/sec ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานเป็นมาตรฐานแทนที่บัส AGP เดิมบนเมนบอร์ดแทบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ



ไบออส (BIOS)


BIOS (Basic Input / output System) เป็นชิปหน่วยความจำที่ถูกติดตั้งเอาไว้อยู่อย่างถาวรบนเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กที่ใช้ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานในตอนเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้ ชิปหน่วยความจำที่บรรลุโปรแกรม BIOS มักเป็นชนิด แฟลชรอม ( Flash ROM ) ซึ่งจะสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลภายในได้ด้วยการใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ลบหรือแก้ไขข้อมูลนี้โดยเฉพาะ
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ตั้งค่าการทำงานให้กับเครื่องที่เรียกว่า BIOS หรือ CMOS Setup จะถูกเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่กินไฟน้อยและเก็บข้อมูลได้




แบตเตอรี่ไบออส (BIOS Battery)

ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้มักจะเป็นแบบลิเธียม (Lithium) เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้เป็นปีๆ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ลักษณะคล้ายกระดุมหรือเหรียญสีเงินถูกวางอยู่ในเบ้าพลาสติกสีดำ

ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ (Power Connector)

เป็นจุดที่ใช้เสียบเข้ากับหัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงขนาด 5 โวลต์ ให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่างๆที่ถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟในยุคของเมนบอร์ดและ Power Supply ที่ใช้ Form Factor แบบ AT นั้นจะใช้เสียบเข้ากับหัวต่อที่เรียกว่า P8 และ P9 ซึ่งมีจำนวนพินทั้งสิ้น 12 Pin ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคของ Form Factor แบบ ATX จึงได้เปลี่ยนไปใช้หัวต่อที่เรียกว่า ATX Power Connector ซึ่งมีจำนวนพินทั้งสิ้น 20 Pin

ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง (Front Panel Connector)

ขั้วต่อสัญญาณต่างๆที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ สามารถแยกแยะได้โดยดูจากสีที่แตกต่างกันพร้อมสัญลักษณ์ขั้วบวกลบหรืออ่านจากตัวอักษรย่อที่กำกับไว้ข้างๆขั้วต่อก็ได้
ขั้วต่อสัญญาณที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆผ่านทางสายสัญญาณที่โยงมาจากบริเวณหน้าตัวเครื่อง มีดังนี้

• ปุ่มสวิทซ์ RESET (RESET SW) ทำหน้าที่เสมือนปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่

• ปุ่มสวิทซ์ POWER (POWER SW) ใช้ในการเปิดเครื่องแต่กรณีที่เครื่องไม่สามารถปิดได้ด้วยคำสั่ง Shutdown
ได้สามารถใช้ปุ่มนี้ปิดเครื่องได้โดยกดปุ่มค้างไว้ประมาณ 3-4 วินาที

• หลอดไฟ POWER (POWER LED) เป็นหลอดไฟ LED สีเขียวที่อยู่หน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่

• หลอดไฟ HARDDISK (H.D.D LED) เป็นหลอดไฟ LED สีแดงที่อยู่ด้านหน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์หรือซีดี/ดีวีดีไดรว์ ในขณะนั้นว่ากำลังทำงานอยู่ ถ้าไฟนี้ดับแสดงว่าไดรว์ได้ถูกใช้งานถึงแม้ว่าไดรว์จะกำลังหมุนอยู่ก็ตาม

• ลำโพง (SPEAKER) เป็นลำโพงขนาดเล็กที่อยู่ภายในตัวเครื่องซึ่งจะถูกติดตั้งมากับตัวเคส เครื่องทำงานเป็นปกติดีหรือมีปัญหา ลำโพงนี้ไม่สามารถใช้ถ่ายทอดเสียงที่ส่งตรงมาจากการ์ดเสียง (Sound Card) ได้



จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด

ในอดีตการกำหนดค่าความเร็วบัสและกำหนดค่าตัวคูณของซีพียูจะกระทำผ่านทางจัมเปอร์บนเมนบอร์ด ในปัจจุบันการกำหนดค่าเหล่านี้มักจะกระทำผ่านทางไบออสเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับค่าตัวคูณของซีพียูได้และเนื่องจากผู้ผลิตมักจะล็อคค่าตัวคูณเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าไปปรับแต่งจนอาจจะทำให้ซีพียูทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นปัจจุบันจัมเปอร์ต่างๆดังที่กล่าวมาแทบจะไม่มีอยู่ในเมนบอร์ดอีกแล้ว จะเหลือก็แต่เพียงบางตัวที่ยังจำเป็นต้องใช้ เช่น จัมเปอร์ Clear CMOS

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ (IDE Controller Port)

เป็นขั้วต่อ ( connectors ) บนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 40ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ IDE (Integrated Drive Electronics) หรือ การต่ออุปกรณ์ใช้สายแพ ( Ribbon Cable ) แบบ 40
หรือ 80 เส้น เชื่อมต่อระหว่างชุดคอนโทรลเลอร์ IDE บนเมนบอร์ดกับตัวอุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์หรือซีดี/ดีวีดีไดรว์
ทั้งนี้มาตรฐาน IDE ได้มากที่สุด 2 ตัว การเชื่อมต่อแบบ IDE เดิมนั้นมีข้อจำกัดคือ ใช้ได้กับฮาดดิสก์ไม่ใหญ่นัก
เช่นไม่เกิน 512 MB เท่านั้น

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Serial ATA ( SATA )

เป็นขั้วต่อหรือพอร์ตบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 7 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ Serial ATA ( SATA ) ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพราะติดตั้งง่ายและมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง สายสัญญาที่ใช้มีขนาดเล็กและยาวกว่าเดิมจะใช้การรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม ( Serial ) กล่าวคือเป็นการรับส่งข้อมูลกันทีละบิตอย่างต่อเนื่องด้วยความถี่ที่สูงกว่าการเชื่อมต่อแบบ IDE เดิมที่การรับส่งข้อมูลกันในแบบขนานมากคือ 1.5 และ 3 GHz ทำให้มีแบนด์วิดธ์หรือมีอัตาความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.5 และ 3 Gbps

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Floppy Disk Drive (FDD/FDC Controller Port)

มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา โดยมากมักจะอยู่ใกล้กันกับขั้วต่อ IDE และมีอยู่เพียงพอร์ตเดียวบนเมนบอร์ด ใช้สายแพแบบ 34 เส้น ที่มีหัวต่อ 3 ชุดอยู่บนสายแพ หัวต่อ 1 ชุดที่อยู่ห่างออกไป ส่วนหัวต่ออีก 2 ชุดที่เหลือซึ่งอยู่ใกล้กัน จะใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้พร้อมกัน 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสองจะถูกแยกสถานการณ์ทำงานกันด้วยการพลิกไขว้สายแพกกลุ่มหนึ่งไว้






พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน (Serial & Parallel Port)

ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังคงมีอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนไปใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น
สำหรับพอร์ตอนุกรม (Serial Ports) และพอร์ตขนาน (Parallel Port) นี้ จะมีรูปร่างคล้ายตัวอักษร D จึงมักถูกเรียกว่าเป็นชนิด D-type โดยพอร์ตอนุกรมที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวผู้ (มีขา) ทั้งสิ้น 9 ขา ส่วนพอร์ตขนานที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) รูทั้งสิ้น 25 รู

พอร์ตคีย์บอร์ด และเมาส์ (PS/2 Port)

เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) มีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6รู ปัจจุบันทั้งอุปกรณ์คีย์บอร์ดและเมาส์จะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้เชื่อมต่อเข้าพอร์ต PS/2 และ USB ดังนั้นเวลาซื้อหามาใช้งานก็ควรเลือกให้ตรงกับพอร์ตที่จะใช้ด้วย

พอร์ตยูเอสบี (USB Port)

เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่มีหัวต่อเป็นแบบ USB โดยทั่วไปพอร์ตแบบนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้ไม่น้อยกว่า 2 พอร์ตอยู่แล้วบนเมนบอร์ด ในอดีตมาตรฐานของพอร์ต USB ที่ใช้งานกันจะเป็น USB 1.1 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ สูงสุดเพียง 12 Mbps เท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกพัฒนาไปเป็น USB 2.0 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์สูงสุดถึง 480 Mbps

หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A

มีลักษณะแบนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ที่อยู่ตรงบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

หัวต่อ และช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B
ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของอุปกรณ์ ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B ที่ตัวอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่างๆ








พอร์ตไฟร์ไวร์ (Firewire หรือ IEEE 1394)

ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่างๆ ที่มีพอร์ตแบบ Firewire เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อินเตอร์เฟส แบบ Firewire และกล้องดิจิตอลวิดีโอ เป็นต้น
แต่สำหรับเมนบอร์ดราคาประหยัดบางรุ่นพอร์ตแบบนี้อาจถูกตัดทิ้งเพื่อช่วยลดต้นทุน ดังนั้นก่อนซื้อหาเมนบอร์ดรุ่นใดๆ มาใช้ก็ควรพิจารณาเลือกดูให้ดีก่อนว่าเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ มีพอร์ต Firewire หรือ IEEE 1394 มาให้ด้วยหรือไม่


คุณสมบัติล่าสุดของเมนบอร์ด

ทำให้เมนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เพียบพร้อมในการทำงานด้วยประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดต้องไปแข่งขันกันที่รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ทั้งทางด้านฮาร์แวร์แบะซอฟท์แวร์ดังต่อไปนี้


External SATA และ SATA RAID ชุดที่สอง

โดยการเพิ่มชิปเล็กๆ อีก 1 ตัว ก็ทำให้เมนบอร์ดนั้นมีช่องเสียบ SATA เพิ่มขึ้นได้


วงจรจ่ายไฟที่เสถียรกว่าเดิม

ด้วยเหตุที่ซีพียู แรม และการ์ดจอมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้ามีมากขึ้น แหล่งจ่ายไฟที่ดีจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งถ้าต้องการใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูงมากๆ ก็ควรลงทุนเลือกเมนบอร์ดที่มีชุดรักษาแรงดันไฟฟ้าจำนวนมากหน่อย

ตัวเก็บประจุที่ทนทาน

ตัวเก็บประจุมีความสำคัญมาก เมนบอร์ดที่เสียหรือรวน เกิดจากตัวเก็บประจุเสื่อม ทำให้รักษาระดับแรงดันได้ไม่ดี ปัจจุบันจึงได้มีการนำตัวเก็บประจุดีๆ มาใช้

การใช้ Heat Pipe

Heat Pipe หมายถึง ท่อนำความร้อน มีครีบระบายความร้อนอยู่รอบๆซีพียูเพื่อให้พัดลมซีพียูช่วยพัฒนาความร้อนออกไปโดยไม่ต้องมีพัดลมติดตั้งไว้กับตัวชิปเซ็ต

การแก้ไขปัญหา BIOS

เกิดปัญหาจนทำให้ BIOS นั้นเสียหายถึงขนาดทำให้เมนบอร์ดนั้นไม่สามารถทำงานได้จะต้องนำไปที่ศูนย์หรือร้านซ่อมแก่ไขเท่านั้น

ซอฟต์แวร์ลดการใช้พลังงาน

เพื่อรองรับการทำงานของ Speed Step ของอินเทลและ PowerNow ของ AMD เมนบอร์ดจึงเพิ่มซอฟอต์แวร์ไว้ให้ติดตั้งเข้ามาเพื่อประหยัดไฟฟ้าและลดความร้อน


ตัวเครื่องหรือเคส ( Case )

เป็นกล่องใช้สำหรับติดตั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เกิบทั้งหมด เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด
ฮาร์ดดิสก์ ซีดี/ ดีวีดีไดร์ เพาวอร์ซัพพลาย และการ์ดต่างๆ เข้าไว้ภายในเพื่อความระเยบทำจากวัสดุจำพวกเหล็ก อลูมิเนียม และพลาสติกสำหรับรูปแบบของตัวเครื่องหรือเคลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปจะแบ่งอออกได้ดังนี้

แบบฟูลทาวเวอร์ ( Full Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก

แบบมีเดียมทาวเวอร์ ( Medium Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งที่มีขนาดปานกลางมีน้ำไม่มาก

แบบมินิทาวเวอร์ ( Mini Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งขนาดเล็กเหมาะสำหรับเมนบอร์ดที่ถูกจำกัดจำนวนสล็อตไว้เพียง 2-3 สล็อต

แบบเดสก์ท็อป ( Desktop )
เป็นเคสแบบแนวนอน แล้ววางจอภาพไว้บนตัวเคส

แบบมินิพีซี ( Mini - PC )
เป็นเคสขนาดเล็กมากอาจมีทั้งแบบวางแนวนอนและแนวตั้ง เหมาะสำหรับเมนบอร์ดขนาดเล็กมาก





พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดมีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส ทำหน้าที่ แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
ปัจจุบันควรใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดท่มีอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น

แรงดันไฟขาออกของพาวเวอร์ซัพพลาย

เครื่องพีซีได้ถูกกำหนดให้มีแรงดันขาออกเป็นไฟตรงเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์ชนิดต่างๆที่ต้องการแรงดันไม่เท่ากัน ทั้งไฟบวกและไฟลบ เมื่อเทียบกับระดับไฟ 0 โวลต์ หรือ กราวนด์ โดยมีกระแสที่จะต้องจ่ายได้ไม่เท่ากัน

อุปกรณ์สำรองไฟ และปรับระดับแรงดันไฟอัตโนมัติ (UPS)

UPS หรือ Uninterruptible Power Supply เป็นชื่อเรียกอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรองไฟ ยามใดเกิดไฟฟ้าดับหรือไฟตกเกิดขึ้นในขณะใช้งาน อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยจ่ายกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นทันทีชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีเวลาพอที่เราจะสามารถบันทึกงานที่ค้างอยู่เก็บไว้ได้โดยไม่สูญหายไปในขณะไฟดับ

ประเภทของอุปกรณ์ UPS
Off-line หรือ Standby UPS

ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายไฟทั้งในเรื่องของแรงดันไฟ และความถี่ ถ้าไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายเกิดผิดเพี้ยนไปจากปกติ จะส่งผลให้ไฟฟ้าที่ถูกจ่ายออกมาจาก UPS ชนิดนี้ผิดเพี้ยนไปด้วย

Line-Interactive UPS with Stabilizer

ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งออกมาตามสายไฟเฉพาะในเรื่องของความถี่เท่านั้น เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการคุณภาพแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น ทำให้ไม่เกิดปัญหาบ่อย

On-Line หรือ Double Conversion UPS

UPS ชนิดนี้ถือว่าสมบูรณ์แบบที่สุดโดยไฟฟ้าที่ถูกจ่ายออกมาจะมีแรงดันและความถี่ทางไฟฟ้าคงที่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายจะเป็นเช่นไรก็ตาม ปัจจุบัน UPS แบบนี้มีราคาแพง



คุณสมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับ UPS ที่ควรทราบ

ค่ากำลังไฟฟ้า หรือ Power Rating

ขนาดของ UPS มักถูกเรียกตามพิกัดของกำลังไฟฟ้าที่ UPS นั้นๆ สามารถผลิตออกมาได้ จะเห็นได้ตั้งแต่ขนาด 500VA ไปจนถึง 1500VA

ค่าตัวประกอบกำลังทางไฟฟ้า หรือ Power Factor

เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป ควรมีค่า Power Factor อยู่ระหว่าง 0.6-0.8 ถึงจะเพียงพอ แต่ปัจจุบัน UPS ราคาถูกๆ มักจะมีค่า Power Factor อยู่ระหว่าง 0.4-0.5 เท่านั้น อาจทำให้ UPS มีอายุการใช้งานสั้นลง

ระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรอง หรือ Backup Time

สามารถจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆได้เป็นระยะเวลานานเท่าใด ถ้าหากเรามีจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไว้กับ UPS น้อยหรือกินไฟไม่มาก ระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรองก็จะมากขึ้นตามไปด้วย