วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญบนเมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม ชิปเซ็ต ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ เข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ชิปเซ็ต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ เราจึงจำเป็นที่จะต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญ โดยรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้


ช่องทางสำหรับติดตั้งซีพียู (CPU Socket)

เป็นชิ้นส่วนที่ยึดติดอยู่กับเมนบอร์ด ใช้เป็นฐานรองรับตัวซีพียู เพื่อเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าบนเมนบอร์ด ซีพียูแต่ละรุ่นจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับช็อคเก็ตที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นซีพียูของ Intel ก็คือแบบ LGA แต่ถ้าเป็นซีพียูของ AMD ที่ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ PGA ช็อคเก็ตที่ใช้ก็จะเป็นแบบ PGA

ช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำ (Memory Slot)

ลักษณะของแผงหน่วยความจำแรม แต่ละชนิดจะมีขนาดความยาว จำนวนขา และตำแหน่งของร่องบากที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบช่องเสียบแผงหน่วยความจำให้เป็นรูปแบบเฉพาะของแรมที่จะนำมาใช้
สล็อตหน่วยความจำแบบอื่นๆ ที่เคยใช้กันมามีดังต่อไปนี้

• แบบ 30 Pin ใช้กับ EDO RAM ในเครื่องตั้งแต่ก่อนยุคที่จะมีซีพียู 486
• แบบ 72 Pin ใช้กับ EDO RAM ในเครื่องตั้งแต่ยุคซีพียู 486 ไปจนถึง Pentium
• แบบ 168 Pin ใช้กับ SDRAM
• แบบ 184 Pin ใช้กับ DDR-SDRAM
• แบบ 184 Pin ที่ใช้กับ RDRAM แผงแรมชนิดนี้มักถูกเรียกว่า “RIMM หรือ RIMM Slot”
• แบบ 232 Pin ใช้กับ RDRAM (Rambus DRAM)


ชิปเซ็ต (Chipset)

เป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด องค์ประกอบหลักในการนำมาพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ด ตัวอย่างเช่น เมนบอร์ดที่เราเลือกซื้อนั้นใช้ชิปเซ็ตที่เราสนับสนุนความเร็ว FSB ได้สูงสุดถึง 1600 MHz หรือได้สูงสุดเพียงแค่ 800 MHz และสามารถใช้หน่วยความจำ DDR2 และ/หรือ DDR3 ได้หรือไม่ ที่ความเร็วเท่าใด และมีขนาดความจุสูงสุดได้เท่าไหร่ เป็นต้น


ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ (Bus & Slot)

บัส (Bus) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบัสในแต่ละส่วนจะมีความเร็วต่างกัน ตั้งแต่ ซีพียู หน่วยความจำ แคช ฮาร์ดดิสก์ สล็อต ต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัส จึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์ ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องมีความเร็วเพียงพอที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เต็มความเร็วของอุปกรณ์นั้นๆ ระบบบัสที่มีความเร็วสูงมากๆก็ยิ่งจะเพิ่มความยุ่งยากในการออกแบบ เพราะ สัญญาณดิจิตอลที่เป็น 0 กับ1 ในทางไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะอ่อนกำลังลงหรือถูกรบกวนให้ผิดเพี้ยนไปได้ง่ายที่ความถี่สูง
โครงสร้างของระบบบัสภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมากกว่าในอดีต ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น ชิปเซ็ต และระบบบัสต่างๆตามไปด้วย ทั้งนี้เราจะมาดูกันว่าระบบบัสและสล็อตต่างๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

ระบบบัส และช็อคเก็ตของซีพียู

ระบบบัสที่เกี่ยวข้องกับซีพียูโดยตรงนั้นถูกเรียกว่า Front Side Bus (FSB) เป็นระบบบัสที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูที่ถูกติดตั้งอยู่บนช็อคเก็ตกับชิปเซ็ต ตัวหลักบนเมนบอร์ด บัสนี้ทำงานด้วยความเร็วสูงสุดเท่ากับความถี่ ของสัญญาณนาฬิกาภายนอกซีพียู

ระบบบัส และสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่างๆ
ระบบบัสที่เกี่ยวข้องกับช่องสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่างๆ มีดังนี้

• PCI (Peripheral Component Interconnect) และ PCI-X (PCI Extended)


บัส PCI เป็นระบบบัสที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์อื่นๆที่มีความเร็วรองลงมา
มาตรฐานของระบบบัสแบบ PCI ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่คือ PCI 2.3 ซึ่งมีความกว้างบัสขนาด 32 บิต (4ไบต์)
และทำงานด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาคงที่คือ 33.3 MHz หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาส่วนต่อขยายของบัส PCI เดิมขึ้น โดยเพิ่มความกว้างของบัสเป็น 64 บิต และสามารถทำงานด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาตั้งแต่ 33.3 MHz ไปจนถึง 133 MHz โดยยังคงมีความเข้ากันได้
PCI –X ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้งานบนเครื่องระดับ Server และ Workstation ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี Bandwidth ที่กว้างและสามารถรองรับการขยายระบบได้มากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ดังนั้น PCI-X จึงสามารถรองรับกับเทคโนโลยีทั้งใหม่และเก่าได้


• AGP (Accelerated Graphic Port)

บัส AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อมาจากบัส PCI โดยมีความกว้างของบัสเท่าเดิมคือ 32 บิต (4 ไบต์) แต่ทำงานด้วยความถี่สูงขึ้นคือ 66.6 MHz ทำให้มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 4 ไบต์ บัส AGP นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องรับส่งข้อมูลปริมาณมากและจำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของทั้งระบบอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP ได้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น

• PCI-Express

PCI-Express เป็นระบบบัสแบบใหม่ที่กำลังเข้ามามาแทนที่ระบบบัสแบบ PCI และ AGP ด้วยคุณสมบัติที่ดีและยืดหยุ่นของระบบบัสแบบ PCI-Express ที่สามารถออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามความต้องการของแต่ละอุปกรณ์ให้อัตราความเร็วในแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
ระบบแบบ PCI-Express จะใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) ในการรับส่งข้อมูลจะใช้วิธีการแบ่งเส้นทางเดินของข้อมูลออกเป็นช่องสัญญาณ หรือ เลน ซึ่งแบนด์วิดธ์ที่ได้รับในแต่ละทิศทาง สำหรับ PCI-Express x16 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์สูงสุดมากถึง 8 GB/sec ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานเป็นมาตรฐานแทนที่บัส AGP เดิมบนเมนบอร์ดแทบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ



ไบออส (BIOS)


BIOS (Basic Input / output System) เป็นชิปหน่วยความจำที่ถูกติดตั้งเอาไว้อยู่อย่างถาวรบนเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กที่ใช้ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานในตอนเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้ ชิปหน่วยความจำที่บรรลุโปรแกรม BIOS มักเป็นชนิด แฟลชรอม ( Flash ROM ) ซึ่งจะสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลภายในได้ด้วยการใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ลบหรือแก้ไขข้อมูลนี้โดยเฉพาะ
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ตั้งค่าการทำงานให้กับเครื่องที่เรียกว่า BIOS หรือ CMOS Setup จะถูกเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่กินไฟน้อยและเก็บข้อมูลได้




แบตเตอรี่ไบออส (BIOS Battery)

ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้มักจะเป็นแบบลิเธียม (Lithium) เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้เป็นปีๆ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ลักษณะคล้ายกระดุมหรือเหรียญสีเงินถูกวางอยู่ในเบ้าพลาสติกสีดำ

ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ (Power Connector)

เป็นจุดที่ใช้เสียบเข้ากับหัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงขนาด 5 โวลต์ ให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่างๆที่ถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟในยุคของเมนบอร์ดและ Power Supply ที่ใช้ Form Factor แบบ AT นั้นจะใช้เสียบเข้ากับหัวต่อที่เรียกว่า P8 และ P9 ซึ่งมีจำนวนพินทั้งสิ้น 12 Pin ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคของ Form Factor แบบ ATX จึงได้เปลี่ยนไปใช้หัวต่อที่เรียกว่า ATX Power Connector ซึ่งมีจำนวนพินทั้งสิ้น 20 Pin

ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง (Front Panel Connector)

ขั้วต่อสัญญาณต่างๆที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ สามารถแยกแยะได้โดยดูจากสีที่แตกต่างกันพร้อมสัญลักษณ์ขั้วบวกลบหรืออ่านจากตัวอักษรย่อที่กำกับไว้ข้างๆขั้วต่อก็ได้
ขั้วต่อสัญญาณที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆผ่านทางสายสัญญาณที่โยงมาจากบริเวณหน้าตัวเครื่อง มีดังนี้

• ปุ่มสวิทซ์ RESET (RESET SW) ทำหน้าที่เสมือนปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่

• ปุ่มสวิทซ์ POWER (POWER SW) ใช้ในการเปิดเครื่องแต่กรณีที่เครื่องไม่สามารถปิดได้ด้วยคำสั่ง Shutdown
ได้สามารถใช้ปุ่มนี้ปิดเครื่องได้โดยกดปุ่มค้างไว้ประมาณ 3-4 วินาที

• หลอดไฟ POWER (POWER LED) เป็นหลอดไฟ LED สีเขียวที่อยู่หน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่

• หลอดไฟ HARDDISK (H.D.D LED) เป็นหลอดไฟ LED สีแดงที่อยู่ด้านหน้าเครื่อง ใช้แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์หรือซีดี/ดีวีดีไดรว์ ในขณะนั้นว่ากำลังทำงานอยู่ ถ้าไฟนี้ดับแสดงว่าไดรว์ได้ถูกใช้งานถึงแม้ว่าไดรว์จะกำลังหมุนอยู่ก็ตาม

• ลำโพง (SPEAKER) เป็นลำโพงขนาดเล็กที่อยู่ภายในตัวเครื่องซึ่งจะถูกติดตั้งมากับตัวเคส เครื่องทำงานเป็นปกติดีหรือมีปัญหา ลำโพงนี้ไม่สามารถใช้ถ่ายทอดเสียงที่ส่งตรงมาจากการ์ดเสียง (Sound Card) ได้



จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด

ในอดีตการกำหนดค่าความเร็วบัสและกำหนดค่าตัวคูณของซีพียูจะกระทำผ่านทางจัมเปอร์บนเมนบอร์ด ในปัจจุบันการกำหนดค่าเหล่านี้มักจะกระทำผ่านทางไบออสเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับค่าตัวคูณของซีพียูได้และเนื่องจากผู้ผลิตมักจะล็อคค่าตัวคูณเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าไปปรับแต่งจนอาจจะทำให้ซีพียูทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นปัจจุบันจัมเปอร์ต่างๆดังที่กล่าวมาแทบจะไม่มีอยู่ในเมนบอร์ดอีกแล้ว จะเหลือก็แต่เพียงบางตัวที่ยังจำเป็นต้องใช้ เช่น จัมเปอร์ Clear CMOS

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ (IDE Controller Port)

เป็นขั้วต่อ ( connectors ) บนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 40ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ IDE (Integrated Drive Electronics) หรือ การต่ออุปกรณ์ใช้สายแพ ( Ribbon Cable ) แบบ 40
หรือ 80 เส้น เชื่อมต่อระหว่างชุดคอนโทรลเลอร์ IDE บนเมนบอร์ดกับตัวอุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์หรือซีดี/ดีวีดีไดรว์
ทั้งนี้มาตรฐาน IDE ได้มากที่สุด 2 ตัว การเชื่อมต่อแบบ IDE เดิมนั้นมีข้อจำกัดคือ ใช้ได้กับฮาดดิสก์ไม่ใหญ่นัก
เช่นไม่เกิน 512 MB เท่านั้น

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Serial ATA ( SATA )

เป็นขั้วต่อหรือพอร์ตบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 7 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ Serial ATA ( SATA ) ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพราะติดตั้งง่ายและมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง สายสัญญาที่ใช้มีขนาดเล็กและยาวกว่าเดิมจะใช้การรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม ( Serial ) กล่าวคือเป็นการรับส่งข้อมูลกันทีละบิตอย่างต่อเนื่องด้วยความถี่ที่สูงกว่าการเชื่อมต่อแบบ IDE เดิมที่การรับส่งข้อมูลกันในแบบขนานมากคือ 1.5 และ 3 GHz ทำให้มีแบนด์วิดธ์หรือมีอัตาความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.5 และ 3 Gbps

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Floppy Disk Drive (FDD/FDC Controller Port)

มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา โดยมากมักจะอยู่ใกล้กันกับขั้วต่อ IDE และมีอยู่เพียงพอร์ตเดียวบนเมนบอร์ด ใช้สายแพแบบ 34 เส้น ที่มีหัวต่อ 3 ชุดอยู่บนสายแพ หัวต่อ 1 ชุดที่อยู่ห่างออกไป ส่วนหัวต่ออีก 2 ชุดที่เหลือซึ่งอยู่ใกล้กัน จะใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้พร้อมกัน 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสองจะถูกแยกสถานการณ์ทำงานกันด้วยการพลิกไขว้สายแพกกลุ่มหนึ่งไว้






พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน (Serial & Parallel Port)

ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังคงมีอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนไปใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น
สำหรับพอร์ตอนุกรม (Serial Ports) และพอร์ตขนาน (Parallel Port) นี้ จะมีรูปร่างคล้ายตัวอักษร D จึงมักถูกเรียกว่าเป็นชนิด D-type โดยพอร์ตอนุกรมที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวผู้ (มีขา) ทั้งสิ้น 9 ขา ส่วนพอร์ตขนานที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) รูทั้งสิ้น 25 รู

พอร์ตคีย์บอร์ด และเมาส์ (PS/2 Port)

เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) มีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6รู ปัจจุบันทั้งอุปกรณ์คีย์บอร์ดและเมาส์จะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้เชื่อมต่อเข้าพอร์ต PS/2 และ USB ดังนั้นเวลาซื้อหามาใช้งานก็ควรเลือกให้ตรงกับพอร์ตที่จะใช้ด้วย

พอร์ตยูเอสบี (USB Port)

เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่มีหัวต่อเป็นแบบ USB โดยทั่วไปพอร์ตแบบนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้ไม่น้อยกว่า 2 พอร์ตอยู่แล้วบนเมนบอร์ด ในอดีตมาตรฐานของพอร์ต USB ที่ใช้งานกันจะเป็น USB 1.1 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ สูงสุดเพียง 12 Mbps เท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกพัฒนาไปเป็น USB 2.0 ซึ่งให้แบนด์วิดธ์สูงสุดถึง 480 Mbps

หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A

มีลักษณะแบนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ที่อยู่ตรงบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

หัวต่อ และช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B
ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของอุปกรณ์ ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B ที่ตัวอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่างๆ








พอร์ตไฟร์ไวร์ (Firewire หรือ IEEE 1394)

ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่างๆ ที่มีพอร์ตแบบ Firewire เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อินเตอร์เฟส แบบ Firewire และกล้องดิจิตอลวิดีโอ เป็นต้น
แต่สำหรับเมนบอร์ดราคาประหยัดบางรุ่นพอร์ตแบบนี้อาจถูกตัดทิ้งเพื่อช่วยลดต้นทุน ดังนั้นก่อนซื้อหาเมนบอร์ดรุ่นใดๆ มาใช้ก็ควรพิจารณาเลือกดูให้ดีก่อนว่าเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ มีพอร์ต Firewire หรือ IEEE 1394 มาให้ด้วยหรือไม่


คุณสมบัติล่าสุดของเมนบอร์ด

ทำให้เมนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เพียบพร้อมในการทำงานด้วยประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดต้องไปแข่งขันกันที่รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ทั้งทางด้านฮาร์แวร์แบะซอฟท์แวร์ดังต่อไปนี้


External SATA และ SATA RAID ชุดที่สอง

โดยการเพิ่มชิปเล็กๆ อีก 1 ตัว ก็ทำให้เมนบอร์ดนั้นมีช่องเสียบ SATA เพิ่มขึ้นได้


วงจรจ่ายไฟที่เสถียรกว่าเดิม

ด้วยเหตุที่ซีพียู แรม และการ์ดจอมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้ามีมากขึ้น แหล่งจ่ายไฟที่ดีจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งถ้าต้องการใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูงมากๆ ก็ควรลงทุนเลือกเมนบอร์ดที่มีชุดรักษาแรงดันไฟฟ้าจำนวนมากหน่อย

ตัวเก็บประจุที่ทนทาน

ตัวเก็บประจุมีความสำคัญมาก เมนบอร์ดที่เสียหรือรวน เกิดจากตัวเก็บประจุเสื่อม ทำให้รักษาระดับแรงดันได้ไม่ดี ปัจจุบันจึงได้มีการนำตัวเก็บประจุดีๆ มาใช้

การใช้ Heat Pipe

Heat Pipe หมายถึง ท่อนำความร้อน มีครีบระบายความร้อนอยู่รอบๆซีพียูเพื่อให้พัดลมซีพียูช่วยพัฒนาความร้อนออกไปโดยไม่ต้องมีพัดลมติดตั้งไว้กับตัวชิปเซ็ต

การแก้ไขปัญหา BIOS

เกิดปัญหาจนทำให้ BIOS นั้นเสียหายถึงขนาดทำให้เมนบอร์ดนั้นไม่สามารถทำงานได้จะต้องนำไปที่ศูนย์หรือร้านซ่อมแก่ไขเท่านั้น

ซอฟต์แวร์ลดการใช้พลังงาน

เพื่อรองรับการทำงานของ Speed Step ของอินเทลและ PowerNow ของ AMD เมนบอร์ดจึงเพิ่มซอฟอต์แวร์ไว้ให้ติดตั้งเข้ามาเพื่อประหยัดไฟฟ้าและลดความร้อน


ตัวเครื่องหรือเคส ( Case )

เป็นกล่องใช้สำหรับติดตั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เกิบทั้งหมด เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด
ฮาร์ดดิสก์ ซีดี/ ดีวีดีไดร์ เพาวอร์ซัพพลาย และการ์ดต่างๆ เข้าไว้ภายในเพื่อความระเยบทำจากวัสดุจำพวกเหล็ก อลูมิเนียม และพลาสติกสำหรับรูปแบบของตัวเครื่องหรือเคลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปจะแบ่งอออกได้ดังนี้

แบบฟูลทาวเวอร์ ( Full Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก

แบบมีเดียมทาวเวอร์ ( Medium Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งที่มีขนาดปานกลางมีน้ำไม่มาก

แบบมินิทาวเวอร์ ( Mini Tower )
เป็นเคสแบบแนวตั้งขนาดเล็กเหมาะสำหรับเมนบอร์ดที่ถูกจำกัดจำนวนสล็อตไว้เพียง 2-3 สล็อต

แบบเดสก์ท็อป ( Desktop )
เป็นเคสแบบแนวนอน แล้ววางจอภาพไว้บนตัวเคส

แบบมินิพีซี ( Mini - PC )
เป็นเคสขนาดเล็กมากอาจมีทั้งแบบวางแนวนอนและแนวตั้ง เหมาะสำหรับเมนบอร์ดขนาดเล็กมาก





พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดมีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส ทำหน้าที่ แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
ปัจจุบันควรใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดท่มีอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น

แรงดันไฟขาออกของพาวเวอร์ซัพพลาย

เครื่องพีซีได้ถูกกำหนดให้มีแรงดันขาออกเป็นไฟตรงเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์ชนิดต่างๆที่ต้องการแรงดันไม่เท่ากัน ทั้งไฟบวกและไฟลบ เมื่อเทียบกับระดับไฟ 0 โวลต์ หรือ กราวนด์ โดยมีกระแสที่จะต้องจ่ายได้ไม่เท่ากัน

อุปกรณ์สำรองไฟ และปรับระดับแรงดันไฟอัตโนมัติ (UPS)

UPS หรือ Uninterruptible Power Supply เป็นชื่อเรียกอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรองไฟ ยามใดเกิดไฟฟ้าดับหรือไฟตกเกิดขึ้นในขณะใช้งาน อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยจ่ายกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นทันทีชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีเวลาพอที่เราจะสามารถบันทึกงานที่ค้างอยู่เก็บไว้ได้โดยไม่สูญหายไปในขณะไฟดับ

ประเภทของอุปกรณ์ UPS
Off-line หรือ Standby UPS

ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายไฟทั้งในเรื่องของแรงดันไฟ และความถี่ ถ้าไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายเกิดผิดเพี้ยนไปจากปกติ จะส่งผลให้ไฟฟ้าที่ถูกจ่ายออกมาจาก UPS ชนิดนี้ผิดเพี้ยนไปด้วย

Line-Interactive UPS with Stabilizer

ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งออกมาตามสายไฟเฉพาะในเรื่องของความถี่เท่านั้น เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการคุณภาพแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น ทำให้ไม่เกิดปัญหาบ่อย

On-Line หรือ Double Conversion UPS

UPS ชนิดนี้ถือว่าสมบูรณ์แบบที่สุดโดยไฟฟ้าที่ถูกจ่ายออกมาจะมีแรงดันและความถี่ทางไฟฟ้าคงที่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณภาพของไฟฟ้าที่ถูกส่งมาตามสายจะเป็นเช่นไรก็ตาม ปัจจุบัน UPS แบบนี้มีราคาแพง



คุณสมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับ UPS ที่ควรทราบ

ค่ากำลังไฟฟ้า หรือ Power Rating

ขนาดของ UPS มักถูกเรียกตามพิกัดของกำลังไฟฟ้าที่ UPS นั้นๆ สามารถผลิตออกมาได้ จะเห็นได้ตั้งแต่ขนาด 500VA ไปจนถึง 1500VA

ค่าตัวประกอบกำลังทางไฟฟ้า หรือ Power Factor

เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป ควรมีค่า Power Factor อยู่ระหว่าง 0.6-0.8 ถึงจะเพียงพอ แต่ปัจจุบัน UPS ราคาถูกๆ มักจะมีค่า Power Factor อยู่ระหว่าง 0.4-0.5 เท่านั้น อาจทำให้ UPS มีอายุการใช้งานสั้นลง

ระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรอง หรือ Backup Time

สามารถจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆได้เป็นระยะเวลานานเท่าใด ถ้าหากเรามีจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไว้กับ UPS น้อยหรือกินไฟไม่มาก ระยะเวลาในการจ่ายไฟสำรองก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น