ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก
ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้
•ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
•ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
•จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
•ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
•การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสของเครื่อง
•ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
•การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
• อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
• สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วย เช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
•Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วย รายละเอียดต่าง ๆ
•เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย
การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์
Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้
เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น
ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูงไว้ก็ดี
การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์
ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกฮาร์ดดิสก์ดังนี้
•ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี
•ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66/100 ก็เลือกแบบ UDMA-66/100 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ความสามารถแบบ UDMA-66/100 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66/100 ด้วย
•ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี
•ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ 2 แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็
•ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม
•เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี
การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์
•ขนาดของ RAM ต่อ 1 ชิ้น บนเมนบอร์ดจะมีข้อจำกัดของช่องใส่ RAM เช่นใส่ได้ 3 หรือ 4 ช่อง หากเลือก RAM ที่มีขนาดน้อย ๆ ต่อชิ้น เช่นเลือก RAM แถวละ 32M. คุณก็ต้องซื้อ 2 แถวเพื่อให้ได้ 64M. ในอนาคตอยากจะเพิ่มอีก ก็จะเริ่มเป็นปัญหาว่าไม่มีช่องใส่ RAM พอได้
•การใช้ RAM ที่มีขนาด และความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะเป็นปัญหาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นการไม่เสถียร หรือแฮงค์บ่อย ๆ ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นการซื้อ RAM ใหม่ให้เลือกขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องการเลย เช่น 64M. หรือ 128M. ต่อ 1 แถวและใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
•ความเร็วของบัสแรม ก็ต้องเลือกให้เข้ากับ CPU และ เมนบอร์ดด้วย (ความเร็วส่วนใหญ่จะเป็น 66, 100 และ 133 MHz) เช่น Celeron ใช้ความถี่ FSB 66 MHz อาจจะใช้งานกับ RAM แบบ PC-66 ก็ได้ แต่หากคุณใช้ CPU Pentium II หรือ Pentium III ซึ่งใช้ความเร็ว FSB 100MHz ก็ต้องใช้ RAM แบบ PC-100 ด้วยหรือ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้ความเร็วบัส FSB 133 MHz ก็ต้องใช้แรมแบบ PC-133
•ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูลของ RAM อันนี้คงจะดูกันยากหน่อย แต่โดยทั่วไปก็จะมีตัวเลขที่บอกความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล เช่น 10 nsec, 8nsec หรือ 6 nsec เป็นต้น ตัวเลขยิ่งน้อย ก็ทำให้การเข้าถึงได้เร็วกว่า
•สำหรับผู้ที่ต้องการ Over Clock ก็คงต้องเลือกยี่ห้อของ RAM กันหน่อย เคยได้ยินมาว่า RAM แบบ PC-133 บางยี่ห้อสามารถทำงานที่ความเร็วสูงถึง 180 MHz ได้ด้วย
การเลือกซื้อ VGA Card สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับ VGA Card ปัจจุบันนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือการ์ดแสดงผลแบบ 2D และแบบ 3D ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบ 3D กันหมดแล้ว เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันทางด้านความเร็ว จำนวนของ RAM บนการ์ดและคุณภาพ ตามราคาเท่านั้น ในที่นี้ขอแบ่งวิธีการเลือกการ์ดแสดงผล ดังนี้
•ชนิดของ Interface การ์ดจอ คือเป็นแบบ PCI หรือเป็นแบบ AGP ต้องเลือกให้ตรงกับเมนบอร์ดด้วยนะครับ (สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะมีแค่เพียงสล็อตแบบ PCI เท่านั้น หากเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีสล็อต AGP มาให้ด้วย)
•การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา เช่นการพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือกการ์ดแสดงผลที่มี RAM ประมาณซัก 8M. ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะราคาจะค่อนข้างถูกกว่ามาก
•หากเน้นที่การเล่นเกมส์ ก็ต้องเลือกการ์ดแสดงผลแบบที่เป็น 3D โดยเฉพาะ และควรจะมีจำนวนของ RAM บนการ์ดค่อนข้างมากหน่อย เช่น 16M. หรือ 32M. หากเลือกการ์ดที่มี RAM มาก ๆ จะทำให้เล่นเกมส์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นครับโดยที่ราคาก็จะแพงมากขึ้นตามไปด้วย
•เลือกชนิดของ Chip Set ของการ์ดจอด้วย เนื่องจากการ์ดจอแต่ละแบบ จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว ที่นิยมเลือกใช้งานกันก็จะมี Voodoo, TNT, Savage, SiS และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้จาก เวปบอร์ดต่าง ๆ ประกอบด้วย
•ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูล เช่นเป็น AGP 1X, 2X หรือ
•ความสามารถในการ Over Clock ซึ่งรวมทั้งการ Over Clock CPU และการ Over Clock การ์ดจอด้วย สำหรับผู้ที่คิดจะทำ Over Clock โดยเฉพาะ
•Option Video in, Video Out ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งถ้าหากมี Option พวกนี้มาด้วย ราคาก็จะสูงขึ้นอีก
การเลือกซื้อ Sound Card สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับการเลือกซื้อ Sound Card หรือการ์ดเสียง สรุปง่าย ๆ คือเลือกกันตามราคาไปเลย จะมีตั้งแต่แบบถูก ๆ ราคาไม่กี่ร้อยไปจนถึงราคาเป็นหลักพัน คุณภาพของเสียงที่ได้ก็จะเป็นตามราคาด้วยเช่นกัน หากใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา ใช้การ์ดเสียงรุ่นเก่า ๆ ก็พอใช้งานฟังเพลงได้ ในส่วนนี้ขอแนะนำให้ เอางบประมาณที่ตั้งไว้ เผื่อไปที่ตัวลำโพงดีกว่า เลือกลำโพงแบบที่มี ซับวูฟเฟอร์ ด้วยจะช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงได้มาก ในส่วนของการเลือก Sound Card ลองพิจารณาดูเรื่องของการเพิ่มเติมหน่วยความจำในอนาคต หรือการใส่ wave table ได้ด้วยซึ่งหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะสามารถทำได้อยู่แล้ว
การเลือกซื้อ Modem สำหรับคอมพิวเตอร์
ในส่วนของ Modem ที่เห็นรูปร่างจากภายนอก สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือแบบ Internal Modem และ External Modem ซึ่งขอแยกข้อดีและข้อเสียของ Modem ชนิดต่าง ๆ ดังนี้
•Internal Modem
ข้อดีคือ
ราคาถูกกว่า ไม่เกะกะสายตา เพราะจะเป็นการ์ดเสียบติดไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเลย ไม่ต้องต่อสายหรือต่อ Power Supply ให้ยุ่งยาก และไม่เปลือง COM Port ที่มีอยู่จำกัด
ข้อเสีย
การเคลื่อนย้าย หรือถอดออกไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ จะทำได้ค่อนข้างยาก และมักจะมัปัญหาหลาย ๆ อย่างตามมาด้วยเช่น สายอาจจะมีโอกาสหลุดได้บ่อย (ปัญหาหลักที่พบกันมาก) ต้องการ CPU ที่มีความเร็วค่อนข้างสูง จึงจะใช้งานได้แบบไม่มีปัญหา
•External Modem จะมีราคาแพงกว่าแบบ Internal Modem และจะต้องมีสายต่อต่าง ๆ อยู่ภายนอกเครื่องให้เกะกะสายตาดี
ข้อดี
พบปัญหาของสายหลุดได้น้อยมาก และสามารถใช้งานกับ CPU ที่มีความเร็วไม่สูงมากนักได้สบาย ๆ การเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่าย
การเลือกซื้อ จอภาพ สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับ จอภาพ ของคอมพิวเตอร์ ก็คงเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งครับที่ไม่มีให้เลือกมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเลือกกันที่ขนาดของจอ เช่น 14, 15 หรือ 17 นิ้ว เป็นจอแบบธรรมดา หรือ Flat Screen ราคาก็จะถูกแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอนั้น ๆ ขอแนะนำให้พิจารณาดูด้วยก็คือ การตั้งค่าความละเอียดของการแสดงผลสูงสุดได้เท่าไร และการตั้งค่า Refresh Rate ตั้งได้สูงสุดเท่าไร และจอภาพคือส่วนที่เราต้องมองอยู่เกือบตลอดเวลาที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อ Printer
ในส่วนของ Printer ก็คงต้องเลือกกันตามความจำเป็นใช้งาน ซึ่งอาจจะแบ่ง Printer ออกได้เป็น 3 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
แบบใช้ผ้าหมึก จะเป็น Printer แบบเก่า ๆ ภาพที่ได้จะไม่ค่อยสวย จะเหมาะกับการใช้งานพิมพ์เอกสารบนกระดาษต่อเนื่องต่าง ๆ โดยที่ราคาต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะถูกมาก
แบบ Laser จะเน้นที่การพิมพ์ ขาว-ดำ จะได้งานที่สวยงามขึ้นมา แต่ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นก็จะสูงขึ้นมาอีกหน่อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอาสารทั่ว ๆ ไป
แบบ Ink Jet ส่วนใหญ่จะสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย ปัจจุบันมีการพัฒนากันถึงขั้นพิมพ์ภาพออกมาได้ใกล้เคียงกับภาพถ่ายจริงแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะค่อนข้างแพงมาก รวมถึงกระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ อาจจะต้องใช้กระดาษแบบพิเศษเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามขึ้นด้วย
โดยส่วนใหญ่ก็จะดูกันที่ชนิดของการต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นต่อกับ Parallel Port หรือ USB Port ความเร็วของการพิมพ์ในแต่ละหน้า มีความละเอียดของการพิมพ์เช่น 720 dpi (720 จุดต่อนิ้ว) ยิ่งมีความละเอียดสูง ก็จะทำให้พิมพ์ภาพได้คมชัดขึ้นครับ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วย เช่น Printer ของ Epson ที่เป็นแบบ Ink Jet รุ่นต่าง ๆ จะต้องมีการใช้งานอยู่สม่ำเสมอ หากไม่มีการใช้งานนาน ๆ อาจจะเกิดการอุดตันของหัวพิมพ์ก็ได้ ต้องหาข้อมูลเหล่านี้ดูให้ดีด้วย
การเลือกซื้อ Scanner
ในส่วนของ Scanner ก็ต้องดูเรื่องความละเอียดเป็นหลักครับว่าสามารถสแกนได้ความละเอียดสูงสุดเท่าไร ความเร็วของการสแกน ชนิดของหลอดไฟหรือหัวสแกนที่ใช้งาน ความสามารถทำสแกนฟิมล์ถ่ายภาพได้หรือไม่ รวมถึงการเชื่อมต่อโดยเป็นแบบ Parallel Port หรือ USB Port ด้วย
การเลือกซื้อ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
•Keyboard เลือกโดยทดลองกดปุ่มต่าง ๆ ดูว่าเหมาะมือของเราหรือไม่ ปุ่มสำหรับ Key พิเศษต่าง ๆ
•Mouse เลือกโดยทดลองใช้งานให้เหมาะมือ ปุ่มก็ไม่ควรจะแข็งมากจนเกินไปนัก
•Joy Stick เลือกตามราคา หรือทดลองใช้งานจริง ดูจำนวนปุ่มและ Function ต่าง ๆ ว่ามากน้อยเพียงใด
การเลือกซื้อเคส
วัสุด - การระบายความร้อนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าระบายความร้อนไม่ดี ย่อมทำให้ชิ้นส่วนต่างๆคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง
ขนาด - ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของพื้นที่ และความสวยงามด้วย ถ้าเป็นตัวเคสแบบ Tower ย่อมทำให้การระบายความร้อนดีขึ้นด้วย (มีพื้นที่ว่างมากขึ้น) และสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย
จำนวนช่องในการเชื่อมต่อ - เคสบางเคสจะมีช่องในการเชื่อมต่อมากให้มากว่าหนึ่งช่อง โดยเฉพาะ CD-ROM และเลือกให้ดีกว่ากับการเชื่อมต่อ Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USB Port หรือ ช่องเสียง Microphone เป็นต้น
การเข้ากันกับ Mainboard - จุดสำคัญสำหรับการเลือกซื้อเคส ถ้าเลือกขนาดที่เล็กมาก คงต้องสำรวจรุ่นของ Mainboard ที่คุณจะเลือกซื้อด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น